มลพิษทางอากาศ เป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาการหนัก
23 พฤศจิกายน 2563 10:29
1,221
Hindustan Times
เมื่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ยังคงอยู่ ในขณะที่ฝุ่น PM2.5 ก็กำลังมา เจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกได้ชี้ว่า ระดับมลพิษทางอากาศสูงอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาการหนัก
ดร.มาเรีย ไนรา ผู้อำนวยการหน่วยงานสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุขขององค์การอนามัยโลก บอกว่า ประเทศไหนที่มีระดับมลพิษสูง แผนรับมือกับโรคโควิด-19 ของพวกเขาต้องพิจารณาเรื่องนี้ด้วย เพราะมีความเป็นไปได้ว่ามลพิษทางอากาศจะทำให้อัตราการเสียชีวิตสูงขึ้นด้วย
องค์การอนามัยโลกประเมินว่า แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศราว 7 ล้านคน ธนาคารโลกระบุว่า หลายประเทศที่ได้รับผลกระทบอยู่ในเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา ประเทศแถบตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกา
งานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดเรื่องผลกระทบในระยะยาวของมลพิษทางอากาศ ชี้ว่า การเพิ่มระดับของอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ในช่วงหลายปีก่อนจะเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 อาจเพิ่มอัตราการเสียชีวิตของคนในพื้นที่นั้น ๆ ราว 15 เปอร์เซ็นต์
ร้อยละ 90 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในที่ที่ระดับมลพิษแย่เกินกว่าขีดจำกัดที่แนะนำไว้ และส่วนใหญ่ในจำนวนนี้ก็เป็นคนในประเทศยากจน
ผู้เชี่ยวชาญทั้งในฟิลิปปินส์และอินเดียต่างก็เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่การเสียชีวิตของคนไข้โควิด-19 จะเชื่อมโยงกับระดับมลพิษทางอากาศที่ย่ำแย่ โดยศ.ศรีนาธ เร็ดดี ประธานมูลนิธิสาธารณสุขอินเดีย มองว่า หากมลพิษทางอากาศทำลายระบบทางเดินหายใจและเยื่อปอดแล้ว ร่างกายก็จะต่อสู้กับไวรัสโคโรนาได้น้อยลง
ข้อมูลจาก BBC Thai
บทความที่เกี่ยวข้อง
-
เตือนฝุ่นจิ๋วรอบใหม่ กทม.-ปริมณฑล หลังลมหนาวจาง 14 - 15 ม.ค.นี้
-
24 - 29 ธ.ค.นี้อากาศปิด กทม.เตรียมรับมือฝุ่นจิ๋วระลอกใหม่
-
กรมอนามัยแนะผู้ปกครองเฝ้าระวังเด็กที่มีโรคประจำตัว ป้องกันมลพิษทางอากาศ
-
คลินิกมลพิษ เปิดสถิติป่วยจากฝุ่น 2 ปี เกือบ 300 คน
-
มลพิษทางอากาศ เป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาการหนัก
-
กทม.- ปริมณฑลฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน 8 พื้นที่